วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ





"พัฒนาความรู้ คู่คุณธรรม มีความสุข รักความเป็นไทย"


  
วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ  เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่จัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการศึกษาและตอบแทนการสังคม ในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มี คุณธรรม คุณภาพ และทัศนคติที่ดีต่อธรรมชาติและเพื่อนมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สังคมไทย และประเทศไทย  วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิมุ่งมั่นที่จะสร้างความเป็นเลิศทางความคิด (ปัญญาและความดี) ทางวิชาการ (ความรู้ สู่อาชีพ) และการดำรงชีวิต (การปฏิบัติสู่ความสุข) ควบคู่กันไปทั้งสามด้าน เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาแห่งนี้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ด้วยคุณภาพแห่งชีวิต



หลักสูตรและสาขาวิชา
ทางวิทยาลัยทำการเรียนการสอนทั้งระดับ ปริญญาตรี,ปริญญาโท และ ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู ดังนี้
  • คณะบริหารธุรกิจ
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • คณะบัณฑิตวิทยาลัย

ติดต่อวิทยาลัยได้ที่
เลขที่  489 ถ.ประชาพัฒนา แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทรศัพท์  : 0 2172 9623 - 6
โทรสาร   : 0 2172 9620

บรรยากาศภายในห้องเรียน
               การเรียนที่นี้เป็นการเรียนการสอนที่เป็นกันเองแต่ให้รายละเอียดของเนื้อหาแต่ละวิชาได้มากค่ะ และเพื่อนๆในห้องเรียนก็ช่วยเหลือเรื่องการเรียนเป็นอย่างดี ทำให้มั่นใจได้ว่าจะนำความรู้ที่ได้มาไปใช้ได้อย่างแน่นอน



สิ่งที่คาดหวังจากการเรียน ป.บัณฑิต วิชาชีพครู
               การที่มาเรียนนี้หลังจากเรียนได้รู้ว่าตนเองได้มีการพัฒนาตัวเองได้ ประกอบกับได้นำสิ่งที่เรียนรู้ในห้องเรียน รวมถึงการดูงานนอกสถานที่นำมาให้และปรับให้เหมาะสมกับงานประจำที่ทำอยู่ นอกจากนี้ยังได้รับประสบการณ์ใหม่ที่เป็นประโยชน์จากเพื่อนๆๆและอาจารย์ทั้งในและนอกห้องเรียน และคิดว่าถ้าจบออกไปแล้วจะสามารถพัฒนาตนเอง และสามารถสร้างบุคลากรเพื่อการพัฒนาประเทศได้ในอนาคต

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Youtube-VDO

สรุปเนื้อหานวัตกรรมและเทคโนโลยี GDT407 ครั้งที่ 2


สรุปเนื้อหานวัตกรรมและเทคโนโลยี GDT407 ครั้งที่ 2





แนวคิดทฤษฏี

 ธอร์นไดค์ นักการศึกษาและจิตวิทยาชาวเยอรมัน ผู้ให้กำเนินทฤษฎีแห่งการเรียนรู้ ได้เสนอหลักการ ภารกิจของการสอนของครูไว้ 2 ประการ และเสนอหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาไว้ 5 ประการ  ภารกิจการสอนของครู ควรจะดำเนินไปตามแนวของกฎ 2 ประการ คือ
   
   1. ควรจัดเรื่องหรือสิ่งที่จะสอนต่าง ๆ ที่ควรจะไปด้วยกัน ให้ได้ดำเนินไปด้วยกัน
   2. ควรให้รางวัลการสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสม และไม่ควรให้ความสะดวกใด ๆ ถ้าไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสมขึ้นมาได้
  
           นอกจากนั้น ธอร์นไดค์ ยังได้กำหนดหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอนของเขาไว้ 5 ประการคือ
  
   1. การกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง (Self – Activity)
   2. การทำให้เกิดความสนใจด้วยการจูงใจ (Interest Motivation)
   3. การเตรียมสภาพที่เหมาะสมทางจิตภาพ (Preparation and Mentalset)
   4. คำนึงถึงเรื่องเอกัตบุคคล (Individualization)
   5. คำนึงถึงเรื่องการถ่ายทอดทางสังคม (Socialization)
   
  
             บรุนเนอร์นักจิตวิทยาชาวอเมริกันผู้มีความสนใจในพัฒนาการของมนุษย์เกี่ยวกับความสามารถในการใช้วัฒนธรรมของตนเองเป็นเครื่องมือในการขยายความสามารถเพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าอย่างไม่มีความหยุดยั้งท่านผู้นี้เป็นผู้เสนอวิธีการเรียนรู้ด้วยการค้นพบด้วยตนเอง(DiscoveryLearning)เทคนิคสำคัญในการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนของบรุนเนอร์ ที่ถือว่าเป็นหลักการพื้นฐานของเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอน พอสรุปได้ 4 ประการ คือ
   
                   1.ในการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนนักการศึกษาและครูผู้สอนทั้งหลายจะต้องยอมรับว่าการจูงใจผู้เรียนหรือการสร้างความพอใจแก่ผู้เรียนให้เกิดความรู้สึกอยากเรียนในสถานการณ์นั้น ๆ เป็นสิ่งสำคัญ
   2. จะต้องมีการจัดโครงสร้างของเนื้อหาวิชาให้เป็นลำดับขั้นตอน มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันในอันที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดมโนคติได้ดีที่สุด
   3.การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนควรให้สอดคล้องกับหลักพัฒนาการทางสติปัญหาเช่นควรจะได้รับการสอนในสิ่งที่เป็นรูปธรรมแล้วจึงค่อยขยายมโนคตินั้นให้เกี่ยวกับนามธรรมมากขึ้น
   4. การเสริมแรงในระหว่างการสอนเป็นสิ่งจำเป็น เพราะว่าการเสริมแรงนั้นจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการเรียนรู้ของนักเรียนผู้เรียนมาก
   
  
               การประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้มาใช้ในเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอน
   
              การจัดการเรียนการสอนปัจจุบันได้นำทฤษฎีการเรียนรู้และหลักการแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาในทัศนะต่างๆมาใช้ร่วมกันอย่างผสมผสานเพื่อก่อให้เกิดคุณภาพของการสอนเทคโนโลยีทางการศึกษาการใช้วัสดุอุปกรณ์เข้าช่วยในการจัดการเรียนการสอนได้มีบทบาทอย่างมากในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการสอน ให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดประสงค์ทำให้เกิดสภาพการณ์ที่มั่นใจได้ว่าจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์ของบทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ 4 ประการ คือ
   
           1. ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างแข็งขัน ด้วยความพึงพอใจและเต็มใจที่จะเรียนรู้
   2. ให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับอย่างฉับพลัน ช่วยกระตุ้นผู้เรียนต้องการจะเรียนรู้ต่อไป
   3. ให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงด้วยการให้ประสบการณ์แห่งความสำเร็จเรียนรู้ด้วยความพอใจ
   4. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เป็นขั้นตอนทีละน้อย ไม่เกิดความดับข้องใจ เรียนด้วยความสนใจ พอใจ และไม่เบื่อหน่าย
  
          จากหลักการและแนวคิดข้างต้นจะเห็นว่าการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันการจัดทำแผนภาพแผนภูมิหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนซึ่งไม่เคยใช้มาก่อนเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาการจัดให้มีการสร้างจัดหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบการสอนเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนการจัดให้ครูทำบันทึกการสอนตามลำดับขั้นตอนการสอนของกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งครูไม่เคยทำการบันทึกมาก่อนเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยสร้างบทเรียนสำเร็จรูปใช้ในการเรียนการสอนอย่างนี้เป็นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาขอเสนอแนวดำเนินการการจัดทำบทเรียนสำเร็จรูป และบทเรียนโปรแกรม เพื่อใช้ในการเรียนการสอน
  
            การแสวงหาแนวทางใหม่ ๆ ในการเรียนการสอน
                   การแสวงหาแนวทางใหม่ ๆ ในการเรียนการสอน (สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู) ได้เสนอความรู้ ความคิด” นวัตกรรมการศึกษาด้วยหลักการ  4  อย่าง  ดังนี้ 
   1. การจัดการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ หมายถึงให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยการกระทำ
       ความรู้เกิดจากกิจกรรมการเรียนการสอนที่นักเรียนได้ทดลอง ได้ปฏิบัติ ได้สังเกตจากของจริง ได้ทำงานร่วมกันได้ทำงานด้วยตนเองทำให้ได้ความรู้จริง หรือความจริงสูงสุดถึงประสบการณ์ชีวิตจริงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในปัจจุบัน มีความจำเป็นต้องใช้วิธีการใหม่ ๆ ใช้สื่อการสอน (Instructional Aids) หรือ โสตทัศนวัสดุ(Audiovisual Material) เพราะนักเรียนมีมาก วิทยากรต่าง ๆ ก้าวหน้าและมีมาก ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ให้มากที่สุด
                    การใช้สื่อการสอนช่วยทำให้ครูลดบทบาทผู้ชายน้ำลายรายชั่วโมง ให้นักเรียนสนุกสนานในการเรียนด้วยกิจกรรม นักเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ไม่ใช่ครูเป็นผู้บงการ
   2. การนำและการผลิตสื่อการสอนมาใช้ในห้องเรียน  เป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนจะช่วยพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ความสามารถได้พัฒนาความแตกต่างของบุคคล และช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ คือ   ได้เรียนเต็มกำลังความสามารถและเกิดความพึงพอใจและช่วยให้การเรียนการสอนนั้นได้ประสิทธิผล คือได้ผลตามความมุ่งหมาย
   3. การบริหารอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ คือ นวัตกรรมการศึกษาได้แก่การนำแนวความคิดและวิธีการใหม่ๆมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนางานด้านการศึกษาในโรงเรียน เช่นพัฒนาบุคลากรทุกฝ่ายให้มีความรู้ความสามารถช่วยพัฒนาการจัดระบบการสอนช่วยลดปัญหาที่เกิดจากกิจกรรมการเรียนการสอนการบริหารอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ จะต้องกำหนดภาระหน้าที่ กำหนดนโยบายให้ชัดเจน มีการเตรียมแผนงาน โครงการ มีการบริหารงานตามจุดประสงค์ มีการติดตามและประเมินผลงาน และมีการปรับปรุงพัฒนางาน โดยสมาชิกของกลุ่มอยู่ตลอดเวลา
              นวัตกรรมทางการศึกษา เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดรูปแบบใหม่ในการจัดการศึกษาเรื่องที่อยู่ในขอบข่ายของนวัตกรรมทางการศึกษา ได้แก่ หลักสูตร วิธีสอน สื่อการสอน การจัดสภาพแวดล้อมช่วยในการศึกษา ตลอดจนการวัดผล การประเมินผลการเรียนการสอน
   4. การวัดและประเมินผลที่เที่ยงตรงและเชื่อถือได้ เป็น นวัตกรรมการศึกษา การวัดและประเมินผล เป็นศาสตร์ สาขาหนึ่ง มีกระบวนการและวิธีการที่ได้พิสูจน์แล้ว ว่ากระทำอย่างใด จึงจะมีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ สามารถวัดและประเมินสิ่งที่ต้องการได้ อย่างเที่ยงตรงและเชื่อถือได้http://google.co.th/                                ข้อมูลเพิ่มเติมที่นี่ketsirin9002@gmail.com

วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553